ยินดีต้อนรับ สู่ กศน.ตำบลทมนางาม "สามารถรับข่าวสารและกิจกรรม กศน.ทุกกิจกรรมได้ที่นี้" คำขวัญตำบลทมนางาม "ล่องเรือเขื่อนลำห้วยทราย ไหว้พระเจ้าใหญ่ เมตตาธรรม วัดป่าศรีอุดม เชิญชมถ้ำแอวขัน มหัศจรรย์ด้วยป่าหิน ดินแดนสโมสร"

ภูมิปัญญา/แหล่งเรียนรู้




องค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม




             องค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม เดิมเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตการปกครองของตำบลสีออ อำเภอกุมภาวาปี ราษฎรชุดแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณตำบลทมนางาม อพยพมาจากอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๔ ต่อมาตำบลบุ่งแก้วแยกออกจากตำบลสีออ จึงย้ายการปกครองขึ้นอยู่กับตำบลบุ่งแก้ว และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑ แยกการปกครองออกจากตำบลบุ่งแก้ว มาเป็นตำบลทมนางามขึ้นกับอำเภอโนนสะอาด โดยแบ่งการปกครอง ๑๐ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ ๑ บ้านทมนางาม หมู่ ๒ บ้านทมป่าข่า หมู่ ๓ บ้านทมป่าข่า หมู่ ๔ บ้านทมนาดี หมู่ ๕ บ้านหาดสถาพร หมู่ ๖ บ้านห้วยหมากหล่ำ หมู่ ๗ บ้านค้อน้อย หมู่ ๘ บ้านหนองไผ่ล้อม หมู่ ๙ บ้านทมนางาม หมู่ ๑๐ บ้านทมนาดี 
             องค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม เป็นอีกส่วนหนึ่งแหล่งเรียนรู้ที่มีเครื่องมือทันสมัย เช่นมีเครื่องคอมพิวเตอร์  มีอินเตอร์เน็ต  เครื่องถ่ายเอกสาร  ที่คอยไว้บริหารประชาชน


แหล่งเรียนรู้ประเภทจักสาน


ผลิตภัณฑ์         การสานผลิตภัณฑ์จากเส้นกก
เจ้าของกิจการ       นางรัดดาวรรณ     อุดมพันธ์
ที่อยู่                  หมู่  ๓  บ้านทมป่าข่า  ต.ทมนางาม  อ.โนนสะอาด  จ.อุดรธานี
อาชีพหลักของชุมชน/กลุ่ม      คือ    ทำนา
อาชีพรองของชุมชน/กลุ่ม      คือ   ทำไร่
ปัญหาที่พบและสิ่งที่ชุมชนต้องการ   คือ   หากลุ่มคนที่ต้องการสานยาก
จำนวนประชากร         จำนวนสมาชิก    ๕  คน
แนวทางการวิเคราะห์และแนวทางแก้ไข    หาชาวบ้านมาร่วมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพเสริม



แหล่งเรียนรู้ประเภทเกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง




เจ้าของกิจการ       นายประเสริฐ   ศรีทาพุฒ
ที่อยู่              ๕๘   หมู่  ๒   บ้านทมป่าข่า  ต.ทมนางาม  อ.โนนสะอาด  จ.อุดรธานี
อาชีพหลัก คือ    เกษตรกรรม




โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทมป่าข่า


           “อโรคยา   ปรมา  ลาภา  การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” นี่คงเป็นคำกล่าวที่ทุกคนล้วนปรารถนา  แต่ก็คงไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้  ดังนั้นที่สถานที่จะคอยอำนวยความสะดวกและป้องกันที่ดีนอกจากการดูแลตัวเองแล้ว  การพึ่งผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ว่านี้ก็คือ   สถานีอนามัยทมป่าข่า    
               สถานีอนามัยทมป่าข่า ตั้งอยู่ที่บ้านทมป่าข่า   หมู่ที่  ๓   ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านทมป่าข่า  โดยมีพนักงานและเจ้าหน้าที่คอยให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ  นอกจากจะคอยบริการด้านการรักษาพยาบาลแล้วยังมีหนังสือคอยบริการประชาชน 





โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทมนางาม


           “อโรคยา   ปรมา  ลาภา  การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” นี่คงเป็นคำกล่าวที่ทุกคนล้วนปรารถนา  แต่ก็คงไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้  ดังนั้นที่สถานที่จะคอยอำนวยความสะดวกและป้องกันที่ดีนอกจากการดูแลตัวเองแล้ว  การพึ่งผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ว่านี้ก็คือ   สถานีอนามัยทมป่าข่า    
               สถานีอนามัยทมนางาม ตั้งอยู่ที่บ้านทมนางาม   หมู่ที่  ๑   ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน โดยมีพนักงานและเจ้าหน้าที่คอยให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ  นอกจากจะคอยบริการด้านการรักษาพยาบาลแล้วยังมีหนังสือคอยบริการประชาชน 



                                                                                                                                  
แหล่งน้ำของชุมชน


              แหล่งน้ำแห่งนี้มีชื่อว่า   หนองบ้าน      เป็นหนองน้ำของหมู่บ้านซึ่งได้เล็งเห็นปัญหาชาวบ้านในหน้าแล้งที่ขาดน้ำอุปโภค  บริโภค  จึงได้จัดทำเป็นน้ำประปาของหมู่บ้านเพื่อใช้ในหมู่บ้านทมป่าข่า  หมู่ที่  ๒,๓,๘   และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ  ไม่ว่าจะเป็น  พันธุ์ไม้  สัตว์น้ำ  เป็นต้น



              
แหล่งน้ำแห่งนี้มีชื่อว่า  “ อ่างเก็บน้ำห้วยทราย”   


เป็นอ่างเก็บน้ำหมู่บ้านซึ่งได้เล็งเห็นปัญหาชาวบ้านในหน้าแล้งที่ขาดน้ำอุปโภค  บริโภค  จึงได้จัดทำเป็นน้ำประปาของหมู่บ้านเพื่อใช้ในหมู่บ้านทมนางาม  หมู่ที่  ๑,๔,๙,๑๐   และเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็น  พันธุ์ไม้  สัตว์น้ำ  เป็นต้น

                        


โรงเรียนชุมชนทมป่าข่า


                โรงเรียนชุมชนทมป่าข่า ตั้งอยู่ที่บ้านทมป่าข่า หมู่ที่  ๒   เปิดสอนสายสามัญ  ระดับประถมศึกษา   ปีที่  ๑  ถึงประถมศึกษาปีที่  ๖  และยังเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ถึงมัธยมศึกษาปีที่  ๓  ซึ่งมีแหล่งเรียนรู้นอกจากวิชาการ  โรงเรียนชุมชนทมป่าข่ายังมีการทำสวนสาธิตต่าง ๆ ให้นักเรียนได้นำไปประยุกต์ประกอบใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน  ซึ่งมีการบูรณาการที่ดีอีกวิธีหนึ่ง





โรงเรียนหาดสถาพร


                โรงเรียนบ้านหาดสถาพร  ตั้งอยู่ที่บ้านหาดสถาพร หมู่ที่  ๕  เปิดสอนสายสามัญ  ระดับประถมศึกษา   ปีที่  ๑  ถึงประถมศึกษาปีที่  ๖    ซึ่งมีแหล่งเรียนรู้นอกจากวิชาการ  โรงเรียนหาดสถาพร  ยังมีการทำสวนสาธิตสมุนไพรต่าง ๆ ให้นักเรียนได้นำไปประยุกต์ประกอบใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน  ซึ่งมีการบูรณาการที่ดีอีกวิธีหนึ่ง




วัดศรีชมพู


วัดศรีชมพู  ตั้งอยู่ที่ บ้านทมป่าข่า  หมู่ที่  ๒  อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน  เหมาะสำหรับนักปฏิบัติธรรม มีความเงียบสงบ และภายในบริเวณวัดก็มีความร่มรื่น  วัดทรงธรรมนี้ได้ก่อตั้งมาพร้อม ๆ กับหมู่บ้าน  ด้วยจิตศรัทธาของชาวบ้านทีได้รวมความสามัคคีและการเสียสละเวลา  แรงกาย  และแรงใจร่วมกันสร้างและบูรณาการให้มีความเจริญสืบไป




วัดบัวระพา


             วัดบัวระพา บ้านทมนางาม  มีการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น และมีความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนทุกคนให้รักใคร่ปองดองกัน  มีการทำบุญในวันสำคัญต่าง ๆ ตามพุทธศาสนา  (ฮีต  ๑๒  คลอง ๑๔) เช่น การทำบุญตักบาตร การเวียนเทียนในวันเข้าพรรษา  ประเพณีบุญบั้งไฟ  วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ฯลฯ รวมถึงการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของหมู่บ้านที่มีมานานตั้งแต่บรรพบุรุษไว้อย่างเคร่งครัด




  วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม


 ประวัติความเป็นมา
             วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่  ๓  บ้านทมนางาม    หมู่ที่   ๑  ตำบลทมนางาม  อำเภอโนนสะอาด     จังหวัดอุดรธานี   วัดนี้ได้สร้างมาแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕  โดยพระอาจารย์ประเทือง  อุตฺตโม  ท่านได้เดินลงจากเขาลงมาสู่  ณ  สถานที่ทับจ่า  ซึ่งชาวบ้านชอบเรียกกันติดปาก  เมื่อท่านได้มาเห็นฐานที่นี่  ก็จับจิต  จับใจ  ท่านจึงปักกลดที่นี่เป็นวันแรกเมื่อวันที่  ๕  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๐๕  และก็มีโยมมาอุปัฏฐากอยู่  ๔  คน  คือ  นายน้อย   แวงสงค์   นายลี  ชุมแวงวาปี   นายยา  โพธิ์ศรี  และนายชู  ฝ่ายแก้ว ทั้งสี่ท่านนี้เป็นผู้อุปถัมภ์  พระอาจารย์ประเทืองจึงดำริชอบขึ้นมาในใจแล้วก็เอ่ยปากพูดกับคุณโยมทั้ง ๔  ว่า  อาตมาจะมาสร้างวัดขึ้น  ณ  ที่นี้  จะเห็นดีเห็นชอบไหมคุณโยม  สาธุพวกกระผมเห็นด้วยและพวกกระผมจะเป็นผู้ช่วยทำและบำรุงรักษาต่อไป  จนกว่าชีวิตของพวกกระผมจะหาไม่  เมื่อตกลงกันเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย  ในเมื่อได้ตกลงกันทั้งสองฝ่ายแล้ว  ก็มีคุณโยม  ยา  และโยม  ลี ได้ปรึกษาหารือกันว่าที่ตรงนี้  เป็นที่ของอาจารย์สมยง  ปรีชาเดช   เป็นอาจารย์สอนอยู่ โรงเรียนบ้านทมนางาม
นี้เอง  แล้วโยมทั้งสอง  จึงไปเรียนถามว่า  อาจารย์สมยงมีที่ดินหัวไร่ปลายนาของอาจารย์  ที่พระอาจารย์ประเทืองมาปักกลดนั้น  ท่านจะเสียสละได้ไหมเพื่อสร้างวัดป่าขึ้นมา  ซึ่งเป็นสถานที่บำเพ็ญธรรมของพระธุดงค์กรรมฐาน   และพวกเราก็จะได้ทำบุญทำทาน  และเต็มใจ  จึงเสียสละที่ดินแปลงนี้มีจำนวน  ๒๘๘  ไร่  และก็ได้อุบาสกอีกรวมเป็น  ๕  ท่านด้วยกัน  เมื่อที่ดินก็ได้แล้วแรงใจใสศรัทธาก็พร้อม   แล้วพากันไปกราบเรียนพระอาจารย์ประเทืองว่าพวกกระผมพร้อมแล้วจะลงมือสร้างเมื่อใด   พระอาจารย์ท่านพูดออกมาว่า  ลงมือทำวันที่  ๕   ธันวาคม  ๒๕๐๕   แล้วก็ได้ทำการสร้างศาลาวันที่   ๕  นั้นเองคราวนั้นสร้างศาลาหลังเล็ก  ๆ  ก่อน   กว้าง  ๘  ศอก   ยาว  ๑๒  ศอก  
ในการสร้างวัดป่าอุดมรัตนาราม   ตำบลทมยางาม    อำเภอโนนสะอาด  จังหวัดอุดรธานีบันทึกไว้โดย   หลวงพ่อประเทือง   พระสว่าง  เป็นผู้ลอกคัดลอกมาจากสมุดบัญชีที่หลวงพ่อประเทือง  เขียนไว้มีเนื้อความดังต่อไปนี้เมื่อถึง ปี พ.ศ. ๒๕๐๕  พอออกพรรษาได้  ๖  วัน  ตรงกับวันที่  ๑๙  ตุลาคม  ๒๕๐๕  ไดรับนิมนต์จากท่านเจ้าคุณอริยะ   เจ้าอาวาสวัดเขาสวนกวาง  ให้ลงมาช่วยงานรับกฐิน  ซึ่งมีนายทหาร  จังหวัดนครราชสีมานำมาถวาย  เมื่องานกฐินเสร็จแล้ว  พอถึงวันที่  ๒๓  พฤศจิกายน  ๒๕๐๕  ตามกำหนดที่จะออกเดินทางครั้งนั้น  มีพระติดตามไปด้วย  ๒  องค์  คือ  พระอาจารย์ไว  ปภากโร  อีกองค์  พระอาจารย์มหาสมบูรณ์  ทั้งสองท่านเป็นคนชาวกรุงเทพฯ  โดยกำเนิดเมื่อได้พักวิเวกปักกลดอยู่ภูเขาเล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้  บ้านทมนางาม  ห่างจากหมู่บ้าน  ๓  กิโลเมตร  ปักกลดอยู่ที่นี่  ตั้งแต่วันที่  ๒๓  พฤศจิกายน   ๒๕๐๕   จนถึงวันที่  ๑๖  ตรงกับแรม  ๕  ค่ำ  วันอาทิตย์  พ.ศ. ๒๕๐๕  อาจารย์สมยง  ปรีชาเดช  อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านทมนางาม  ได้มีศรัทธาอยากจะถวายที่ดินเพื่อให้สร้างวัด  เป็นที่อาศัยของพระฝ่ายวิปัสสนาธุระ  ที่เดินธุดงค์มาจากทิศต่าง ๆ ครั้นเมื่อได้ฤกษ์งามยามดี  อาจารย์สมยงและชาวบ้าน  หลายคนด้วยกันอาทิเช่น  นายน้อย  เวียนสงค์   นาบลี  ชุมแวงวาปี    นายลี  วิเศษวุฒ  นายยา  โพธิ์ศรี  นายเป็ด  อ่อนสุด  นายบุญนำ  วิเศษวุฒ  และโยมผู้หญิงอีกสองคน  คือ  นาง  ปรีชาเดช


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น