ยินดีต้อนรับ สู่ กศน.ตำบลทมนางาม "สามารถรับข่าวสารและกิจกรรม กศน.ทุกกิจกรรมได้ที่นี้" คำขวัญตำบลทมนางาม "ล่องเรือเขื่อนลำห้วยทราย ไหว้พระเจ้าใหญ่ เมตตาธรรม วัดป่าศรีอุดม เชิญชมถ้ำแอวขัน มหัศจรรย์ด้วยป่าหิน ดินแดนสโมสร"

แนวทาง/กลยุทธ์การดำเนินงาน

แนวทาง/กลยุทธ์การดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบลทมนางาม
แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อลดความเสี่ยงทางการเมือง
หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้ดาเนินไปอย่างรุนแรง ประชาชนยังมีความแตกแยกเป็นกลุ่มก้อนการเมืองต่างๆ คนไทยแตกแยกความสามัคคี กระบวนการยุติธรรมขาดความน่าเชื่อถือประกอบกับความเสื่อมถอยทางคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมไทย ส่งผลให้สถาบันทางสังคมมีแนวโน้มอ่อนแอ กศน.ตำบลทมนางาม มุ่งเน้นการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมความสามัคคี คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมไทย ของประชาชนในพื้นที่โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ดาเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย ประชาชนมีความสามัคคีปรองดองมากยิ่งขึ้น

แนวทางการจัดการศึกษากลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ
จากการสำรวจข้อมูลประชากรวัยแรงงานตำบลทมนางาม พบว่ามีแนวโน้มลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการย้ายถิ่นฐานของแรงงานบ่อย จำนวนประชากรแฝงเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านอนามัยที่ถูกต้องและเหมาะสม ส่งผลต่อความคุณภาพชีวิต การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้ใช้แรงงานและผู้สูงอายุจึงมีความจาเป็นอย่างยิ่ง และควรจัดให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ ตำบลทมนางาม มีกลุ่มประชากรช่วงอายุ 15-19 ปี จำนวนมากไม่ได้ศึกษาต่อในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรมีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน กลุ่มวัยรุ่นมีความเสี่ยงทางสุขภาพมากขึ้นมีปัญหาด้านยาเสพติด ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กลุ่มวัยผู้สูงอายุในตำบลทมนางาม มีปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น เช่น ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน จากข้อมูลด้านสาธารณสุขพบว่าในชุมชนตำบลทมนางาม มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานถึง 1:3 ของจานวนประชากรทั้งหมด ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการบริโภคที่ไม่ถูกสุขอนามัย ขาดการออกกำลังกาย และขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ
แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม วัฒนธรรม และประเพณีในถิ่น
ในปัจจุบันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศต่อเด็กและสตรีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคนไทยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องมากกว่าส่วนรวมและมีการทุจริตมากขึ้น กศน.ตำบลทมนางาม เห็นความสำคัญของสภาพปัญหาจึงมีแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อให้ความรู้กับประชาชนในชุมชน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม วัฒนธรรม และคงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงานในถิ่นให้สืบต่อไป ประชาชนในชุมชนตำบลทมนางามมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อรองรับเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกและประชาคมอาเซียน
ตำบลทมนางาม มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจานวนมาก กลุ่มประชากรวัยแรงงานส่วนใหญ่เป็นประชากรย้ายถิ่นมาจากต่างจังหวัด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและทางานในโรงงานอุตสาหกรรม ในชุมชนมีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านอาศัยอยู่จานวนมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวการณ์มีงานทาของแรงงานไทย นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของคนไทยในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น กศน.ตำบลทมนางาม มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เพื่อส่งเสริมด้านทักษะประกอบอาชีพและการมีงานทาอย่างยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและเตรียมความพร้อมในการแข่งขันด้านฝีมือแรงงานในอนาคต
ทิศทางการพัฒนาและโอกาสของ กศน.ตำบลทมนางาม
1. การพัฒนาชุมชนตำบลทมนางามตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ชุมชนตำบลทมนางาม ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบ ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการทำเกษตร ทิศทางการพัฒนาชุมชนที่เหมาะสมและมีความยั่งยืนคือการใช้แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในชุมชนอย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และวิถีการดาเนินชีวิตในประจาวันของคนในชุมชนเป็น 6 ทุน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุนทางวัฒนธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะการสร้างฐานทางปัญญา เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับคนและสังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจสีเขียวที่มีแบบแผนการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำความรู้และจุดแข็งของตำบลทมนางามมาสร้างความยั่งยืนของภาคเกษตร รวมทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลและความสมานฉันท์ในชุมชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลทมนางามและชุมชนใกล้เคียงอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขและเป็นธรรม

2. การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนตำบลทมนางาม
กศน.ตำบลทมนางาม มุ่งเน้นให้ประชาชนในพื้นที่ได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาช่วยในการจัดการศึกษา เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้จากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพ มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข มีความรู้ความชำนาญด้านทักษะการประกอบอาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรมใฝ่เรียนรู้และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสุข มีสุขภาพทั้งกายและใจที่สมบูรณ์สามารถประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

3. การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมในท้องถิ่น
กศน.ตำบลทมนางาม มุ่งเน้นให้ประชาชนในพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ด้านการทานุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในท้องถิ่น ดังนี้
     3.1) จัดให้มีการศึกษาและการเรียนรู้โดยให้ความสำคัญการศึกษาทางเลือกตามความสนใจของผู้เรียนและกลุ่มเป้าหมาย
     3.2) สนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจาเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของ กศน.ตำบล โดยนำแนวทางการใช้คูปองการศึกษาเพื่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาปรับใช้กับการจัดการศึกษาของ กศน.ตำบลทมนางาม
     3.3) ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลทมนางาม กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนทั่วไปจัดการการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและทั่วถึง
     3.4) จัดการศึกษาให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยเน้นความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งในตำบลทมนางาม
     3.5) พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู
     3.6) สนับสนุนการมีส่วนร่วมกับองค์กรทางศาสนาในชุมชน เพื่อการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การสร้างสันติสุข ค่านิยมไทย 12 ประการและจัดกิจกรรมเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในชุมชนอย่างยั่งยืน
     3.7) สนับสนุนภาคีเครือข่าย ประชาชนในพื้นที่ให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม ภาษาไทย และภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ การสร้างจิตสานึกความเป็นไทยและการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่คนในชุมชน
     3.8) สนับสนุนการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านและวัฒนธรรมสากล ตลอดจนส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นในชุมชน
     3.9) ปลูกฝังค่านิยมและจิตสานึกที่ดีให้เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ตำบลทมนางามได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

4. การจัดการศึกษาเพื่อโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ดังนี้
     4.1) พัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่
     4.2) สร้างโอกาสทางการศึกษาในชุมชนตำบลทมนางามโดยให้ความสำคัญกับการสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรม
     4.3) การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรทางการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับความรู้ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล
     4.4) พัฒนาวิชาชีพครูเพื่อให้เป็นบุคลากรหลักในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในระดับตำบล
     4.5) การบริหารและปฏิบัติราชการใน กศน.ตำบลทมนางาม ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันสถานศึกษา

5. การดาเนินงานของ กศน.ตำบลทมนางาม ให้เห็นผลใน 1 ปี ได้แก่
     5.1) เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 และการดำรงความต่อเนื่องภายหลังการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
     5.2) พัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายในชุมชนตำบลทมนางาม เพื่อรองรับการแข่งขันและสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
     5.3) มุ่งเน้นการพัฒนาครู กศน.ตำบล และบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับองค์กร/สถานศึกษาให้มีคุณภาพ
     5.4) พัฒนาการจัดการเรียนศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยใช้สื่อสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทันสมัย
     5.5) พัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการประจาปีงบประมาณ 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ

6. การดาเนินงานของ กศน.ตำบลทมนางาม ตามนโยบายเร่งด่วนซึ่งต้องดาเนินการให้เห็นผลใน 3 เดือน ได้แก่
     6.1) พัฒนาการจัดการนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้นักศึกษาพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ มีเวลาทากิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ รวมทั้งปลูกฝังในเรื่องค่านิยมหลัก 12 ประการ มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างวินัย จิตสานึก ความรับผิดชอบต่อสังคม การยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความภาคภูมิใจในการเป็นคนไทย
     6.2) ใช้จ่ายงบประมาณการจัดการนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีประสิทธิภาพรวมถึงการของบประมาณสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา และการจัดการศึกษาให้กับเด็กยากจน พิการ เร่ร่อน และด้อยโอกาสทางการศึกษา
     6.3) การมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดทำข้อตกลงระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจเอกชน(MOU) ในการให้การสนับสนุนและการรับนักศึกษาเข้าทำงานหลังสำเร็จการศึกษาและสนับสนุนอื่นๆ ให้เพิ่มมากขึ้น
     6.4) ส่งเสริมให้นักศึกษาและประชากรกลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงมาตรการความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน และในการเดินทางต่างๆ
     6.5) ดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นไปตามเป้าหมายของสถานศึกษาตามนโยบายเร่งด่วนของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาให้เห็นผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่กำหนด








โอกาสของ กศน.ตำบลทมนางาม
โอกาสความสาเร็จในการนายุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจาปีงบประมาณ 2558 สู่การปฏิบัติเพื่อดาเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานของ สำนักงาน กศน. และสถานศึกษาเพื่อให้บรรลุผลตามบทบาทความรับผิดชอบของ กศน.ตำบล มีดังนี้
1. การพัฒนากลุ่มเป้าหมายในชุมชนที่มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กศน.ตำบลทมนางาม มุ่งสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มีวินัยใฝ่รู้ รักการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก โดยส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของคนต่างวัย ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กร กลุ่มบุคคล ชุมชน ประชาชน และสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย รวมถึงส่งเสริมการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และสนับสนุนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนตำบลทมนางาม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
2. การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปัจจุบันสานักงาน กศน.มีนโยบายให้ กศน.ตำบล ให้บริการประชาชนผู้รับบริการ นักศึกษา กศน.ตำบล ด้านการสื่อสารโดยจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์และการติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมถึงการสนับสนุนการเรียนรู้จากสื่อโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษาและผู้รับบริการในชุมชน โดยประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันสานักงาน กศน. มีนโยบายให้ กศน.ตำบล มีระบบฐานข้อมูล เว็บไซต์ กศน.ตำบล เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารชุมชน
กศน.ตำบลทมนางาม จัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการในชุมชน เป็นการให้ความสำคัญกับการนาเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ซึ่งทาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้โดยง่าย รวดเร็วและเท่าเทียมกันเป็นการเปิดระบบการเรียนรู้ใหม่ของประชาชน ประชาชนในพื้นที่สามารถเรียนรู้จากการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการได้มากมาย ในเวลาเดียวกันความรู้จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญของการแข่งขันทางเศรษฐกิจซึ่งถือว่าเป็นทุนความรู้ ทั้งนี้สำนักงาน กศน. เป็นหน่วยงานหลักของภาครัฐหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญและมีความพร้อมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน ในระบบของการศึกษาที่ไม่เป็นทางการหรือการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านทางช่องทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเครือข่ายสารสนเทศ
3. การพัฒนาและการจัดการศึกษาโดยใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน กศน.ตำบลทมนางาม มุ่งเน้นส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมาบูรณาการเข้ากับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล แหล่งเรียนรู้ประเภทธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ประเภทวัสดุและสถานที่ แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อ แหล่งเรียนรู้ประเภทเทคนิค และแหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรม แหล่งเรียนรู้แต่ละประเภทดังกล่าวสามารถเป็นภาคีเครือข่าย เพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตอบสนองความต้องการของประชาชนในชุมชน โดยประสานเชื่อมโยงการทางานระหว่างประชาชนในพื้นที่ตำบลทมนางาม เพื่อใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
จากสภาวะความเสี่ยงของสภาพชุมชน ทิศทางและโอกาสของการพัฒนาตำบลทมนางาม ดังที่กล่าวมานั้น มีประเด็นสำคัญที่สถานศึกษาต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา โดยนาไปกำหนดเป็นประเด็นสำคัญในข้อยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดาเนินงานของสถานศึกษาต่อไป ได้แก่
     3.1 การสร้างและกระจายโอกาสทางการศึกษา เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายในตำบลสามารถเข้าถึงการจัดการศึกษาอย่างเท่าเทียม
     3.2 การส่งเสริมประชาชนให้เป็นพลเมืองดีของชุมชน มีคุณธรรม มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสมาชิกที่มีศักยภาพของชุมชน สังคม และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ
     3.3 การสร้างคนในชุมชนให้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต ประชาชนมีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้จักแสวงหาโอกาส เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นสังคมคุณธรรม สังคมเพื่อคนทั้งมวล และพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ
     3.4 การพัฒนาการดำเนินงานการศึกษาสาหรับ กศน.ตำบล ทั้งด้านปัจจัย กระบวนการดาเนินงาน และงบประมาณให้สามารถดำเนินการขับเคลื่อนทิศทางการพัฒนาตามบริบท ภารกิจและยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

จุดเน้นการดำเนินงาน กศน.ตำบลทมนางาม
1. จุดเน้นด้านประชากรกลุ่มเป้าหมาย
     1.1 กศน.ตำบลทมนางาม มุ่งเน้นสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีความเป็นธรรมให้กับประชากรทุกกลุ่มในชุมชนตำบลทมนางาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้ด้อย ผู้พลาด และผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา ทั้งนี้จำแนกประชากรกลุ่มเป้าหมายไว้ ดังนี้
(1) จำแนกตามช่วงอายุ มี 3 กลุ่ม ได้แก่
                   (1.1) กลุ่มวัยเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อายุ 6-14 ปี)
(1.2) กลุ่มประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
1.2.1 กลุ่มวันแรงงานอายุ 15-39 ปี เป็นกลุ่มวันแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้เป็นกลุ่มแรก
1.2.2 กลุ่มวัยแรงงานอายุ 40-59 ปี เป็นกลุ่มวัยแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้รองลงมา
(1.3) กลุ่มผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย โดยให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้จากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้
1.3.1 กลุ่มอายุ 60-69 ปี
1.3.2 กลุ่มอายุ 70-79 ปี
1.3.3 กลุ่มอายุ 80-89 ปี
1.3.4 กลุ่มอายุ 90 ปีขึ้นไป


          (2) จำแนกตามคุณลักษณะเฉพาะทางสังคม - ประชากรที่เกี่ยวเนื่องกับการเข้าสู่โอกาสทางการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
(2.1) กลุ่มที่มีเงื่อนไขข้อจากัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ จำแนกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ 17 กลุ่มย่อย ดังนี้
2.1.1 กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เป็นกลุ่มที่มีโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษา/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้อยกว่าคนปกติทั่วไป
อันเนื่องมาจาก (1) ข้อจากัดทางร่างกาย/จิตใจ/สติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนรู้ (2) ข้อจากัดทางด้านฐานะทางเศรษฐกิจ หรือความยากจนหรือ (3) ข้อจากัดด้านการติดต่อสื่อสารอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางภาษา/วัฒนธรรม มี 3 กลุ่มย่อย ได้แก่
(1) กลุ่มผู้พิการ
(2) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพแรงงานนอกระบบ
(3) กลุ่มชาติพันธุ์ (ชนกลุ่มน้อย)
2.1.2 กลุ่มผู้พลาดโอกาส เป็นกลุ่มที่พลาดโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษา/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อันเนื่องมาจาก (1)
ความไม่สามารถในการที่จะรับการศึกษา/การเยนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง หรือไม่มีความประสงค์ที่จะรับการศึกษา การเรียนรู้จนจบหลักสูตรหรือระดับชั้นการศึกษาใดๆ ที่ผ่านมา (2) การย้ายถิ่น/เร่ร่อน หรือ (3) เงื่อนไข ข้อจากัดเกี่ยวกับอายุ มี 7 กลุ่มย่อย ได้แก่
(1) กลุ่มเด็ก/เยาวชนที่ออกกลางคันจากระดับการศึกษาภาคบังคับ
(2) กลุ่มผู้จบการศึกษาภาคบังคับแต่ไม่ได้เรียนต่อ
(3) กลุ่มทหารกองประจาการที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับ
(4) กลุ่มเด็ก/เยาวชนเร่ร่อน/ไร้บ้าน
(5) กลุ่มเด็ก/เยาวชน/ลูกกรรมกรก่อสร้าง
(6) กลุ่มเด็ก/เยาวชนที่มีความพร้อมแต่ไม่ต้องการรับการศึกษาในระบบปกติ
(7) กลุ่มผู้สูงอายุ
                                      2.1.3 กลุ่มผู้ขาดโอกาส เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อันเนื่องมาจาก (1) การอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจากการก่อการร้าย/การก่อความไม่สงบบริเวณชายแดน (2) การอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล หรือยากลาบากในการคมนาคมติดต่อสื่อสาร (3) การมีถิ่นพานักอยู่ในต่างประเทศ (4) การถูกจาคุก คุมขังหรือจากัดบริเวณตามคาพิพากษา หรือ (5) การไม่มีสิทธิภาพในฐานะพลเมืองไทย มี 7 กลุ่มย่อย ได้แก่
(1) กลุ่มประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจากการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบในบริเวณชายแดน
(2) กลุ่มประชาชนในพื้นที่ชนบทห่างไกลหรือยากลาบากในการคมนาคมติดต่อสื่อสาร
(3) กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ
(4) กลุ่มผู้ต้องขัง
(5) กลุ่มเด็ก/เยาวชนในสถานพินิจ
(6) กลุ่มแรงงานต่างด้าว หรือแรงงานข้ามชาติ
(7) กลุ่มบุคคลที่ไม่มีทะเบียนราษฎร์
(2.2) กลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจากัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ จาแนกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่
2.2.1 กลุ่มบุคคลผู้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือปราชญ์ชาวบ้าน
2.2.2 กลุ่มผู้นาชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
2.2.3 กลุ่มนักเรียน/นักศึกษาในระบบโรงเรียนที่สนใจเติมเต็มความรู้
2.2.4 กลุ่มประชาชนทั่วไป

2. จุดเน้นของ กศน.ตำบลทมนางาม และภาคีเครือข่าย
2.1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการ กศน.ตำบล และครู กศน.ตำบล ทุกคน ได้รับการพัฒนา
ให้มีศักยภาพและความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 มีการประสานเชื่อมโยงการทางานตามโครงสร้างภายใน กศน.ตาบล กับภาคีเครือข่ายทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยมี
เอกภาพในเชิงนโยบาย และเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นเป้าหมายความสำเร็จในการทางาน
2.3 กศน.ตำบล มีแผนจุลภาค (Micro Planning) เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมหรือออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ สภาพทางกายภาพของชุมชน ปัญหา/ความต้องการทางการศึกษาของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย แต่ละกลุ่ม แต่ละประเภท แหล่งวิทยากรชุมชน (ทุมมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ และทุกการเงิน) ซึ่งมีการปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันทุกรอบปีงบประมาณ

3. จุดเน้นด้านผลสัมฤทธิ์ กศน.ตำบลทมนางาม
3.1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายตำบลทมนางาม ที่สำเร็จหลักสูตรหรือร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีผลสัมฤทธิ์ที่มีคุณภาพ
ตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือกิจกรรมการศึกษา/การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ และสามารถนาความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริง

3.2 นักศึกษา/ผู้เรียน ที่สำเร็จหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
ในการดำเนินชีวิตและมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ตัวชี้วัดความสำเร็จตามยุทธศาสตร์และจุดเน้น กศน.ตำบลทมนางาม
ความสำเร็จในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน มุ่งที่ผลลัพธ์หรือกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นสำคัญ มี 10 ตัวชี้วัด ดังต่อไปนี้
1. สัดส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลทมนางาม ที่ได้รับการบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบแต่ละกลุ่มอายุต่อจานวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจำแนกรายประเภทกิจกรรม
2. สัดส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลทมนางาม ที่ได้รับการบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบกลุ่มที่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ และกลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม
3. สัดส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลทมนางาม ที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบในพื้นที่ชนบท/และพื้นที่เมืองต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม
4. สัดส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลทมนางาม ที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยแต่ละกลุ่มอายุต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม
5. สัดส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลทมนางาม ที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มที่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ และกลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม
6. สัดส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายในตำบลทมนางาม ที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ชนบท/และพื้นที่เมืองต่อจำนวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม
7. สัดส่วนผู้เรียน/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบของ กศน.ตำบลทมนางาม แต่ละหลักสูตร/กิจกรรมที่จบหลักสูตรแต่ละระดับหรือแต่ละกิจกรรมต่อจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียน/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบแต่ละหลักสูตร หรือแต่ละกิจกรรมทั้งหมด และจำแนกรายหลักสูตรหรือรายกิจกรรม
8. ร้อยละของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานของ กศน.ตำบลทมนางาม ที่มีคะแนนผลการสอบแต่ละภาคเรียนในวิชาคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์/ภาษาอังกฤษ/ภาษาไทย ร้อยละ 55 ขึ้นไปของคะแนนเต็มแต่ละวิชาดังกล่าว
9. ร้อยละของผู้จบหลักสูตรการศึกษา/การฝึกอบรมทางการศึกษานอกระบบของ กศน.ตำบลทมนางาม แต่ละหลักสูตรที่สามารถนาความรู้ หรือประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ได้จริงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนั้นๆ
10. ร้อยละของผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบ/การศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบลทมนางาม ที่ยึดถือค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

ปัจจัยหลักแหล่งความสาเร็จ กศน.ตำบลทมนางาม
1. กศน.ตำบลทมนางาม ยึดหลักวิชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักปรัชญาคิดเป็น หลักธรรมาภิบาล และผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปทั้งภายใน กศน.ตำบลทมนางาม และการทางานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย
2. กศน.ตำบลทมนางาม ใช้ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ในการดาเนินงาน ทั้งที่ยึดพื้นที่ ยึดสภาวะแวดล้อม ยึดกลุ่มเป้าหมาย ยึดประเด็นปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือประเด็นการพัฒนา ยึดความสาเร็จ และยึดนโยบายเป็นฐาน
3. กศน.ตำบลทมนางาม การเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งเครือข่ายเชิงพื้นที่ เครือข่ายเชิงภารกิจและการสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือและความยั่งยืนในการเป็นภาคีเครือข่าย
4. กศน.ตำบลทมนางาม เป็นฐานและสถานีปลายทาง ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพและความพร้อมในการปฏิบัติงานตลอดเวลา
5. กศน.ตำบลทมนางาม ใช้สถานศึกษาเป็นกลไกขับเคลื่อนการบริหารนโยบายในระดับพื้นที่ โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการ กศน.ตำบล เป็นผู้เสนอแนะ กากับติดตาม นิเทศการดาเนินงานเพื่อให้สามารถจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
6. กศน.ตำบลทมนางาม มีข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มตามจุดเน้น มาใช้ในการวางแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. กศน.ตำบลทมนางาม มีระบบการนิเทศกากับติดตามและรายงานผล การปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณที่สามารถตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. กศน.ตำบลทมนางาม มีกลไก/ระบบที่สามารถเชื่อมโยงการทางานระหว่างส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากสถานศึกษา เช่น ระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายเร่งด่วนหรือนโยบายเฉพาะที่ได้รับมอบหมายจากสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9. กศน.ตำบลทมนางาม มีหน่วยงาน/สถานศึกษารับผิดชอบตัวชี้วัดความสำเร็จ ตามยุทธศาสตร์และจุดเน้นที่ตรงตามภารกิจอย่างชัดเจนที่เชื่อมโยงการกากับติดตามและรายงานผลตัวชี้วัดทั้งส่วนกลาง ระดับจังหวัด และระดับสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น